วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การวาดเส้นภาพเหมือนจริงจากธรรมชาติ

การวาดเส้นภาพเหมือนจริงจากธรรมชาติ
สิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราที่เป็นผลมาจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ส่วนหนึ่ง ได้แก่ ถ้วยกาแฟ บ้านเรือน รถยนต์ เรือ โต๊ะ ดินสอ ยางลบ ฯลฯ และ อีกส่วนหนึ่งที่มีอยู่แล้ว คือ สภาพของธรรมชาติ ได้แก่ ต้นไม้ ภูเขา นก ปลา ทะเล สายลม แสงแดด ดอกไม้ ไส้เดือน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีความผูกพันกับชีวิตคนเราตลอดมาจนเป็นปกติในการอยู่ร่วมกันตามวิถีทางหรืวิถีชีวิตนั้น ๆ ในการทำงานบางสาขา อาจจะต้องนำรูปร่างของลักษณะของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เหล่านี้ กลับมาเป็นสื่อในลักษณะของรูปร่าง ให้เห็นกันเป็นภาพนิ่ง เพื่อการสร้างสรรค์ทางด้านธุรกิจ ด้านวิชาการความรู้ หรือความเพลิดเพลิน การวาดเส้นสิ่งต่าง ๆ โดยใช้ทักษะฝีมือ การสังเกต การเข้ามามีส่วนร่วมสร้างสรรค์งานทางด้านต่าง ๆ ด้วย
การวาดเส้นต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ สิ่งที่มีชีวิต และสิ่งที่ไม่มีชีวิตการวาดเส้นทั้ง 2 นี้มีรายละเอียด รูปร่าง ขนาด เรื่องราว เกินที่จะเก็บรวบรวมเป็นรายการได้ ดังนั้นในการทำงานก็จะเลือกว่าจะใช้สิ่งไหน ทำอะไร อย่างไร และให้การวาดเส้นสร้างภาพ สิ่งนั้นส่วนนั้นขึ้นมา ซึ่งพอจะแบ่งเป็นแนวทางได้ดังนี้ คือ
1. ภาพวาดเส้นเพื่อนำไปเป็นภาพประกอบงานเขียนต่างๆ
2. ภาพวาดเส้นนำไปประกอบคำบรรยาย การอภิปราย เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจชัดเจน รวดเร็วขึ้น
3. ภาพวาดเส้นนำไปใช้เป็นต้นแบบในการสร้างงานต่าง ๆ ในรูปของการลอกแบบ การดัดแปลงแบบ ซึ่งได้ทั้งย่อ ขยาย ต่อเติม และตัดต่อในการวาดเส้นผู้วาดจะต้องถ่ายทอดให้ลักษณะของเส้นมีความชัดเจนชัดเจนนอกจากจะ ฝึกพัฒนาทางด้านฝีมือแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่มั่นศึกษาหาความรู้ในสิ่งต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะต้องฝึกเป็นคนช่างสังเกต สามรถเก็บรายละเอียดได้ดีทั่วไป และสามารถถ่ายทอดออกมาให้คนทั่วไปได้เข้าใจ
ลักษณะของภาพวาดเส้นที่ดีสามารถนำไปใช้งานได้ หรือเพื่อนำไปดัดแปลงใช้ในงานออกแบบต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบควรมีลักษณะดังนี้
1. มีรูปร่างที่สัดส่วนถูกต้อง หรือ มีความเหมือน
2. แสดงรายละเอียดชัดเจนถูกต้องเห็นแล้วเข้าใจ สาระของภาพไม่แต่งเติมเกินความเป็นจริง
3. มีการจัดภาพสิ่งของ หรือวัตถุนั้นให้ได้มุมมองที่สวยงามเสียก่อน
4. มีการศึกษาแยกแยะส่วนต่าง ๆ ของสิ่งของหรือวัตถุนั้น ๆ
5. เลือกเครื่องมือในการวาดให้ไดภาพที่ขัดเจน คมชัด ง่ายในการมองและนำไปใช้
ภาพที่ 6.1 ภาพเส้นรูปนก (1)
(แสดงขั้นตอนการวาดเส้นรูปนก เริ่มจากวงกมลและเคล้าโครงเส้นก่อน แล้วกำหนดเส้น รูปร่างจริงภายหลัง)
ภาพที่ 6.2 ภาพเส้นรูปนก (2)
(แสดงขั้นตอนการวาดเส้นรูปนกที่เกาะกิ่งไม้เป็นการถ่ายทอด ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ)
ภาพเหมือนจริงจากธรรมชาติในรูปแบบของงานวาดเส้น
ในการวาดภาพรูปเหมือนจริงจากธรรมชาติ การได้สังเกต และจดจำลักษณะต่าง ๆ ก็จะทำให้วาดส่วนที่เป็นปลีกย่อยได้เป็นอย่างดี หรืออาจสะสมรูปภาพของสิ่งนั้น ๆ ไว้เป็นแบบอย่าง ในการฝึก เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยประหยัดเวลาในการคิดหาท่าทางของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ
ภาพที่ 6.3 ภาพเส้นรูปนก (3)
(แสดงการวาดเส้นภาพนกกางปีกบินโดยอาศัยโครงร่างก่อน แล้วลงรายระเอียด)
ภาพที่ 6.4 ภาพเส้นรูปนก (4)
(แสดงการวาดเส้นภาพนกบินมากกว่าหนึ่ง ต้องอาศัยโครงร่างก่อนเพื่อได้สัดส่วนและ กลุ่มนกที่สวยงาม)
ภาพที่ 6.5 ภาพเส้นรูปนก (5)
(แสดงตัวอย่างวาดเส้นภาพนกชนิดต่าง ๆ กัน)
รูปแบบวาดเส้นภาพนก
นก เป็นสัตว์ หรือ สิ่งมีชีวิตที่บินได้ มีส่วนที่ยึดกางออกได้ คือ ปีก เพื่อการบินไปมาในอากาศดังนั้นจะมีลีลาที่เคลื่อนที่ และ อยู่กับที่โดยการเกาะบนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ นอกนั้นก็เดินบ้างบนพื้นดินหรือหลังคาบ้าน ในการวาดเส้น กิ่งไม้ ก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งของสัตว์พวกนี้
ภาพที่ 6.6 ภาพเส้นรูปนก (6)
(แสดงตัวอย่างภาพนกที่เกาะกิ่งไม้ซึ่งเป็นท่าทางอย่างหนึ่งของการวาดเส้นภาพนก)
ภาพที่ 6.7 ภาพเส้นรูปนก (7)
(แสดงตัวอย่างวาดเส้นภาพนกชนิดต่าง ๆ ในลักษณะของการบิน)
ภาพที่ 6.8 ภาพเส้นรูปนก (8)
(แสดงวาดเส้นภาพนกที่แสดงรายระเอียดของขน และเน้นลักษณะของแสงเงา)
ในการวาดภาพรูปเหมือนจริงจากธรรมชาติ บางครั้งอาจต้องใช้การผสมผสานของเครื่องมือในการวาดเช่น ดินสอ ปากกา สี เพื่อให้เกิดความเหมือนจริง ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงาน
รูปแบบของการวาดเส้นสัตว์น้ำ
สัตว์น้ำ เป็นภาพของสิ่งมีชีวิตที่มีความเคลื่อนไหว มีลีลา โดยเฉพาะปลาจะมีลักษณะ โดยรวมคล้ายกัน เช่น รูปทรงมักจะแบนแนวตั้ง มีตา 2 ข้าง มีครีบ มีหาง มีเกล็ด จะแตกต่างจากนี้ก็อาจจะเป็นแนวที่มองกว้างไปอีก ในสัตว์น้ำก็แยกออกไปอีก เป็นน้ำจืด น้ำเค็ม ซึ่งนอกจากปลาก็เป็นปะการัง หอย กุ้ง เต่า ฯลฯ ซึ่งมีรูปแบบที่เป็นแนวทางในการวาดเส้นดังนี้
ภาพที่ 6.9 ภาพเส้นรูปปลา (1)
(แสดงขั้นตอน และโครงสร้าง การวาดเส้นภาพปลา)
มีข้อที่น่าสังเกตว่า โดยทั่วไปมักจะนิยมวาดภาพปลาในลักษณะของด้านข้าง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าภาพด้านข้างเป็นลักษณะเด่นของรูปร่าง ของปลา และมีความชัดเจนในการถ่ายทอด
ภาพที่ 6.10 ภาพเส้นรูปปลา (2)
(แสดงการวาดเส้นภาพปลาโดยอาศัยโครงร่างก่อนแล้วลงรายละเอียด)
ภาพที่ 6.11 ภาพเส้นรูปปลา (3)
(แสดงการวาดเส้นภาพปลาด้านข้างโดยอาศัยเค้าโครงร่างก่อนแล้วเน้นรายละเอียด)
ภาพที่ 6.12 ภาพเส้นรูปปลา (4)
(แสดงการวาดเส้นภาพปลาด้านข้างโดยอาศัยเค้าโครงร่างก่อนแล้วเน้นรายละเอียด)
ภาพที่ 6.13 ภาพเส้นรูปปลา (5)
(แสดงการวาดเส้นภาพปลาด้านข้างโดยอาศัยเค้าโครงร่างก่อนแล้วเน้นรายละเอียด)
ภาพที่ 6.14 ภาพเส้นรูปปลา (6)
(แสดงตัวอย่างภาพวาดเส้นปลาชนิดต่าง ๆ)
ภาพที่ 6.15 ภาพเส้นรูปปลา (7)
(แสดงตัวอย่างภาพวาดเส้นปลาชนิดต่าง ๆ ทั้งน้ำจืด และน้ำทะเล)
ภาพที่ 6.16 ภาพเส้นรูปปลา (8)
(แสดงตัวอย่างภาพวาดเส้นปลาชนิดต่าง ๆ)
ภาพที่ 6.17 ภาพเส้นรูปปลา (9)
(แสดงภาพวาดเส้นปลาในลักษณะของการถ่ายทอดให้มีรายระเอียดมากขึ้น)
ภาพที่ 6.18 ภาพเส้นสัตว์น้ำ
(แสดงภาพวาดเส้นสัตว์น้ำทั่ว ๆ ไป)
ภาพที่ 6.19 ภาพเส้นหอยทะเล
(แสดงภาพวาดเส้นหอยทะเลชนิดต่าง ๆ)
สัตว์น้ำจำพวกหอย โดยปกติจะไม่ค่อยได้เห็นตัว จะเห็นลักษณะของเปลือกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดรูปร่างของการวาดเส้น
วาดเส้นดอกไม้
ดอกไม้ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของความสวยงาม ทั้งรูปร่าง สีสัน กลิ่นหอม และมีจำนวนมาก สามารถนำมาเลือกประกอบงานต่าง ๆ ได้หลากหลาย ในการศึกษาก่อนการนำมาเส้นมีตั้งแต่ขั้นง่ายสุด คือ วาดจากรูปดอกไม้ที่มีอยู่แล้ว จากรูปในหนังสือทั่วไปซึ่งจะได้ในลักษณะที่หนังสือให้มา แต่ถ้าให้ได้มุมภาพดังใจก็ต้องไปถ่ายภาพดอกไม้จากมุมนั้นมาแล้วนำมาวาด หรือ เอาของจริงมาแล้ววาด แต้ถ้าให้ได้รายละเอียดและศึกษาอย่างจริงจังก็ต้องเอาของจริงมา และ แยกแยะชิ้นส่วนต่างๆ ทุกชิ้นเพื่อให้ได้ผลงานที่ละเอียด ชัดเจนอย่างจริงจัง
ภาพที่ 6.20 ภาพเส้นดอกไม้ (1)
(แสดงรูปแบบวาดเส้นดอกไม้ชนิดต่าง ๆ)
ภาพที่ 6.21 ภาพเส้นดอกไม้ (2)
(แสดงรูปแบบวาดเส้นดอกไม้ที่มีความซับซ้อนของกลีบชนิดต่าง ๆ)
รูปแบบของดอกไม้ในการวาดเส้นจะต้องมีส่วนต่างๆประกอบ เพื่อความสมบรูณ์แบบของพืช ดังนั้นจะต้องมีส่วนของ กิ่ง ก้าน ใบ และส่วนที่เป็นดอกก็ควรมีการถ่ายทอดทั้งดอกตูม ดอกอ่อน ดอกบาน ซึ่งอาจจะอยู่ในลักษณะของการจัดภาพ Foreground Middle ground และ Background เข้ามาช่วย
ภาพที่ 6.22 ภาพเส้นดอกไม้ (3)
(แสดงวาดเส้นดอกไม้ในลักษณะของการถ่ายทอด ในรูปแบบที่เป็น ช่อ มีทั้งดอกตูม ดอกบาน และดอกเดี่ยว ที่มีก้านใบ ซึ่งเป็นธรรมชาติของพืชอยู่แล้ว)
ภาพที่ 6.23 ภาพเส้นดอกไม้ (4)
(แสดงภาพวาดเส้นดอกบัว และรูปแบบของใบลักษณะต่าง ๆ)
การวาดเส้นเพื่อให้ได้ภาพเหมือนจริง จากธรรมชาติ อาจทำได้หลายวิธีการ เช่น
1.ได้มาจากหนังสือต่าง ๆ ที่เห็นว่าภาพนั้นสวยงาม ส่วนใหญ่จะเป็นภาพถ่ายก็นำมาเป็นแบบอย่างแล้ววาดเป็นลายเส้นที่เรียบง่ายแสดงราละเอียดชัดเจน


ภาพที่ 6.24 ภาพเส้นดอกไม้ (5)
(แสดงดอกแคแสดที่ถ่ายจากกล้องถ่ายรูปมาแยก เพื่อการศึกษารูปร่างในการนำมาวาดเส้น)
ภาพที่ 6.25 ภาพเส้นดอกไม้ (6)
(แสดงภาพวาดเส้นดอกแคแสดด้วยปากกา มีทั้งลายเส้น ผสมงานจุด)
2. ได้มาจากภาพวาดเส้นที่เขาวาดได้แล้ว แล้วนำมาดัดแปลงใหม่เพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน วิธีนี้ค่อยข้างสะดวก ง่าย รวดเร็ว
3. วาดเส้นจากการไปนั่งวาด หรือยืนวาดจากของจริง เช่น เก็บดอกไม้มาแล้ววาดให้เหมือนจริงมากที่สุด
4. วาดภาพสิ่งของนั้นจากการไปถ่ายรูป ซึ่งเป็นการเลือกมุมมองที่จัดว่าดีแล้วในขั้นแรก ซึ่งจะได้แบบที่เป็นภาพนิ่ง แล้วนำรูปที่ถ่ายมาวาดเป็นลายเส้นชัดเจนใหม่
ภาพที่ 6.26 แบบภาพนิ่งที่เป็นต้นแบบ
(แสดงสภาพของไร่และผลสับปะรดในการออกไปศึกษาถ่ายภาพเพื่อนำมาประกอบการวาดเส้น)


ภาพที่ 6.27 ภาพวาดเส้นผลสับปะรดจากภาพต้นแบบ
(แสดงผลสับปะรดจากการถ่ายแล้วนำมาวาดเป็นภาพลายเส้นแสดงให้เห็นรายละเอียดเรียบง่าย มีความชัดเจน ของลายตา และใบ)
จะเห็นได้ว่าภาพวาดเส้นนั้นมีความยากง่าย คุณภาพและค่าที่ต่างกัน ในวิธีที่ 3 กับ 4 จะได้ ผลงานวาดเส้นที่มีมุมมองใหม่ เป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่ควรฝึกปฏิบัติ เป็นผลงานที่ไม่ได้อยู่ในลักษณะที่ลอกแบบซึ่งได้ภาพที่ถ่ายทอดซ้ำกัน

สรุป
ลักษณะการวาดเส้นภาพเหมือนจริงจากธรรมชาติ เพื่อนำไปในงานออกแบบ หรือ ไปประยุกต์ใช้งาน ลักษณะของการถ่ายทอดต้องมีความเรียบง่าย ชัดเจน แสดงรายละเอียดสมบรูณ์ถูกต้องของสิ่งนั้น ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นสิ่งมีชีวิตพวก นก ปลา พืช และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชีวิตประจำวันในการใช้สอย และมีการพัฒนาสิ่งของเหล่านี้ต่อไปในงานออกแบบ ลักษณะของการวาดเส้นจะยึดภาพร่างเค้าโครงอย่างนั้นของ เส้น รูปวงกลม รูปเหลี่ยม เป็นการ จัดรูปร่าง เพื่อสะดวกในการเน้นภาพเหมือน

การเพาะปลูกไม้ดอกเมืองหนาวเพื่อจำหน่าย

การเพาะปลูกไม้ดอกเมืองหนาวเพื่อจำหน่าย

พื้นที่อำเภอภูเรือจังหวัดเลย เป็นแหล่งปลูกไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวที่สำคัญแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะช่วงในช่วงฤดูหนาว เกษตรกรผู้เพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับจะเริ่มวางแผนการผลิตเพาะปลูกเพื่อจำหน่ายตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม เพื่อจะได้นำไม้ดอกออกจำหน่ายในช่วงเดือนพฤศจิกายน จนถึงช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งในช่วงนี้ภูเรือเองจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับความนิยม จากนักท่องเที่ยวที่ชอบความสวยงามของธรรมชาติและความหนาวเย็นไปท่องเที่ยว พร้อมทั้งการได้เห็นไม้ดอกเมืองหนาวนาชนิดที่ปลูก สำหรับในพื้นที่ภูเรือ มีกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะปลูกไม้ดอกเมืองหนาวบ้านหนองบง ต.หนองบัว ที่เป็นกลุ่มใหญ่ในการผลิตไม้ดอกเมืองหนาวที่มีประสบการณ์ มีแกนนำกลุ่มอย่างคุณปันใจ สิงห์เดชะ ผู้นำที่มักมีการพัฒนาไม้ดอกสายพันธุ์ใหม่ๆ มาปลูกในพื้นที่ ซึ่งการปลูกไม้ดอกเมืองหนาวเป็นอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ ซึ่งมีวิธีการเพาะปลูกที่น่าสนใจดังนี้

ไม้ดอกเมืองหนาวในอำเภอภูเรือ
                ไม้ดอกเมืองหนาวที่ปลูกในพื้นที่อำเภอภูเรือมีหลากหลายชนิด ตั้งแต่ดาวเรือง เย็นซี่ บัวสวรรค์ หนอนไก่ เสี้ยนฝรั่ง ผีเสื้อ ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมในการนำไปประดับตกแต่งในสถานที่ต่างๆ  ซึ่งจะมีลูกค้าตั้งแต่ตกแต่งสวนในบ้าน ร้านอาหาร รีสอร์ท โรงแรม ร้านสปา แต่งสถานที่งานแสดงต่างๆ  และร้านจำหน่ายไม้ประดับทั่วไป
การเพาะกล้าไม้ดอกเมืองหนาว
วิธีที่นิยมคือ
                 การเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่นิยมปฏิบัติกันและผลผลิตดีกว่าวิธีอื่น โดยนำเมล็ดมาเพาะในกระบะหรือแปลงเพาะ
การเพาะเมล็ดในกระบะ กระบะที่จะใช้เพาะอาจเป็นกระบะไม้หรือกระบะพลาสติกก็ได้ วัสดุเพาะประกอบด้วยขุยมะพร้าว ทราย ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1:1
                การเพาะเมล็ดในแปลง แปลงที่จะใช้เพาะเมล็ดพันธุ์ไม้ดอก ควรเป็นดินร่วนซุยและค่อนข้างละเอียด ขุดแปลงกลับหน้าดินตากไว้ประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลง จากนั้นนำปุ๋ยคอก(มูลโค มูลเป็ด มูลไก่ เป็นต้น ) มาผสมและคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ย่อยดินให้ละเอียดแล้วปรับหน้าแปลงให้เรียบ
การเพาะเมล็ดทั้งการเพาะในกระบะและในแปลง มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
      1. ทำร่องบนวัสดุเพาะในกระบะหรือบนแปลงให้ลึกประมาณ 5 เซนติเมตรและให้แต่ละร่องห่างกันประมาณ 5 ซ.ม
      2. หยอดเมล็ดพันธุ์ไม้ดอกเมืองหนาวในร่อง ห่างกันประมาณ 3-5 ซ.ม แล้วกลบร่องเพื่อกลบเมล็ดดาวเรือง
      3. ให้ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษฟาง หรือหญ้าแห้ง คลุมกระบะเพาะ เพื่อป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนชะแต่ถ้าเป็นฤดูหนาวก็ควรคลุมพลาสติกเช่นกัน เพื่อเพิ่มความร้อนให้กับกระบะหรือแปลงเพาะ จะทำให้เมล็ดงอกได้ดีขึ้น หลังจากเพาะได้ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดจะงอก และอีกประมาณ 10-12 วัน จึงย้ายต้นกล้าไปปลูกได้
 
1. การเตรียมดินปลูก
ดินที่ที่จะใช้ปลูกควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เก็บรักษาความชื้นได้สูง และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6-5-7.5 ในขณะที่เตรียมดินนั้น ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักและแกลบเผาลงไปด้วย เพื่อเมธาตุอาหารและปรับโครงสร้างให้ดินโปร่ง  หลังจากผสมดินเพื่อปลูกเรียบร้อยแล้วจึงนำบรรจุถุงเพื่อปลูกและสะดวกในการนับต้นยกถุงขาย
   2. วิธีการปลูก
      1) หลังจากที่บรรจุถุงดินไว้เรียบร้อยแล้ว ให้นำไปเรียงเป็นแถว แถวละ 10 ถุง ยาวเป็นแถวเพื่อความสวยงาม และจัดแยกเป็นพันธุ์ไม้ดอกชนิดต่างๆ ไว้เพื่อความสะดวกในการจำหน่าย และการความสวยงาม
      2) การย้ายกล้า ควรย้ายต้นกล้าในตอนเย็น ก่อนย้ายกล้ารดน้ำล่างหน้า 1 วัน หรือรดน้ำตอนเช้าแล้วย้ายกล้าตอนเย็น และควรใช้ช้อนปลูกขุดต้นกล้า เพื่อให้ดินติดรากต้นกล้ามาด้วย ต้นกล้าจะได้ไม่โทรมและตั้งตัวได้เร็ว
      3) การปลูกต้นกล้า ปลูกต้นกล้าถุงละต้น โดยฝังต้นกล้าลงในถุงให้โคนต้นอยู่ระดับปากถุงและกลบดินให้เสมอใบเลี้ยง จากนั้นจึงรีบรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา
   3.การปฏิบัติดูแลรักษา
      1) การรดน้ำ ในช่างแรกคือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 7 วัน ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากนั้นรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้าก็พอ และในช่วงที่ดอกเริ่มบานจะต้องระวังอย่าให้น้ำถูกดอก เพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
      2) การใส่ปุ๋ย เมื่อไม้ดอกอายุเฉลี่ยที่ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนชาต่อถุง และเมื่อไม้ดอกมีอายุ 35 และ 45 วัน ควรใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตรา 1 ช้อนชาต่อถุง เช่นกัน การใส่ปุ๋ยควรใส่ให้ห่างโคนต้นประมาณ 6 นิ้วโดยฝังลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว การใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องรดน้ำให้โชกเสมอ
      3) สำหรับดาวเรืองและดอกผีเสื้อการปลิดยอด นิยมเรียกว่า การเด็ดตุ้ม หรือการแต่งตุ้ม ทำเพื่อให้ดาวเรืองแตกพุ่มและจะทำให้ดอกดาวเรืองมีขนาดใหญ่ การปลิดยอดนี้ควรทำเมื่อดาวเรืองมีอายุ 21-25 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ดาวเรืองมีใบจริงขนาดใหญ่ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็ก ๆ ประมาณ 1-2 คู่ วิธีการปลิดยอดทำได้โดยใช้มือซ้ายจับใบคู่บนสุดที่ต้องการเหลือไว้แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้าง เพื่อให้ยอดหลุดออกมา ไม่ควรเด็ดยอด เพราะจะทำให้ส่วนตาของยอดเหลือติดอยู่ ซึ่งจะเจริญเป็นดอกในภายหลัง ทำให้ดอกไม่เป็นไปตามกำหนด คือดอกบานไม่พร้อมกันและมีขนาดเล็ก ปกติดาวเรืองต้นหนึ่งควรไว้ดอกประมาณ 8 ดอก จึงจะได้ดอกที่มีคุณภาพ

 
การขนส่ง
การขนส่งนั้น จะใช้หนังสือพิมพ์ในการห่อดอกก่อนการส่งจำหน่าย เพื่อป้องกันดอกชำ  และนิยมจำหน่ายในเป็นลักษณะนับตามจำนวนถุง(ต้น) ขายส่งต้นละ 5 บาท มีลูกค้าไปรับเองถึงที่ 

แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
ชื่อ - นามสกุล : คุณการแปรรูปผลผลิต อายุ : 48 ปี
ที่อยู่ :  หมู่ที่1 ตำบลหนองบัว  อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย

เมนุอาหาร หมูผัดเปรี้ยวหวาน

ผัดเปรี้ยวหวานหมูสับ

ส่วยผสม ผัดเปรี้ยวหวานหมูสับ

  1. น้ำมัน 2 ช้อนโต๊ะ
  2. กระเทียมสับ 4-5 กลีบ
  3. หมูสับ 1 กิโลกรัม
  4. น้ำปลา น้ำตาลทรายแดง น้ำมันหอย นิดนึง
  5. ซอสมะเขือเทศ
  6. แป้งข้าวโพด+น้ำ
  7. น้ำส้มสายชู ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ
  8. แตงกวาหั่นขวาง หนานิดนึง
  9. มะเขือเทศ 3-4 ลูก หั่นตามยาว
  10. หอมหัวใหญ่ 1/2 หัว หั่นตามยาว
  11. ต้นหอมหั่นท่อน 2-3 ต้น

วิธีทำ ผัดเปรี้ยวหวานหมูสับ

  1. เปิดไฟ เจียวน้ำมัน กระเทียม ตามด้วยหมูสับจนสุก
  2. ปรุงรสด้วยเครื่องทั้งหลายตามชอบ ซอสมะเขือเทศ
  3. เมื่อปรุงได้ที่แล้วก็ใส่แตงกวา ผัดประมาณ 1 นาทีก็ใส่หัวหอมใหญ่ อีก 1 นาทีก็ใส่มะเขือเทศ ปิดไฟได้เลย แล้วเอาต้นหอมหั่นโรยลงไป

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การใช้gmail

การทำงานเป็นทีม

การทำงานในสมัยปัจจุบันหรือการบริหารงานแนวใหม่นี้จะทำแบบ“ข้ามาคนเดียว”
หรือ “วันแมนโชว์” หรือ“ศิลปินเดี่ยว” หรือ “อัศวินม้าขาว” หรือ …อื่น ๆ ดูจะเป็นไปได้ยาก
การทำงานเป็น “ ทีม  - Team ”
ทีม (Team) หมายถึง บุคคลที่ทำงานร่วมกันอย่างประสานงานภายในกลุ่ม
กล่าวคือ เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ในการทำงาน
เพื่อให้เกิดผลสำเร็จ
ทีมงาน (Team Work) หมายถึง กลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันค่อนข้างจะใกล้ชิดและ
คงความสัมพันธ์อยู่ค่อนข้างจะถาวรซึ่งประกอบด้วยหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน
โดยร่วมกันทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของทีมงาน
“การทำงานเป็นทีม”  เป็นความร่วมมือร่วมใจของบุคคล เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
โดยต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ (3P) ได้แก่
มีวัตถุประสงค์ (Purpose) ต้องชัดเจน
มีการจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ในการทำงาน
มีผลการทำงาน (Performance)
ความแตกต่างระหว่างการทำงานแบบทีมและกลุ่ม (Teams vs Groups )
การทำงานแบบกลุ่ม (Work group) คือ การรวมกลุ่มที่มีกิจกรรมร่วมเพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน
และช่วยในการตัดสิ้นใจให้แก่สมาชิกในกลุ่มที่จะทำงานภายในขอบข่ายที่รับผิดชอบของ
แต่ละคนนั้น ในการทำงานของกลุ่มไม่จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงไม่มี
การเชื่อมโยงทรัพยากรและใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิผลในทางบวก
นั่นคือเราใส่การทำงานของแต่ละคนเข้าไปผลงานที่ออกรวมกันแล้วจะได้เท่ากับที่ใส่เข้าไป
หรืออาจจะน้อยกว่าก็ได้
การทำงานแบบทีม ( Work teams) เป็นการทำงานร่วมกันและส่งเสริมกันไปในทางบวก
ผลงานรวมของทีมที่ได้ออกมาแล้วจะมากกว่าผลงานรวมของแต่ละคนมารวมกัน
ชนิดของทีมงาน
การแบ่งทีมในองค์กรสามารถที่จะแบ่งประเภท ตามวัตถุประสงค์ได้ 4 รูปแบบคือ
1. ทีมแก้ปัญหา (Problem - Solving Teams) ประกอบด้วยกลุ่มของพนักงาน และ
ผู้บริหารซึ่งเข้ามารวมกลุ่มด้วยความสมัครใจ และประชุมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ
เพื่ออภิปรายหาวิธีการสำหรับการแก้ปัญหา โดยทั่วไปทีมแก้ปัญหาทำหน้าที่เพียง
ให้คำแนะนำเท่านั้น แต่จะไม่มีอำนาจที่จะทำให้เกิดการกระทำ ตามคำแนะนำ
ตัวอย่างของทีมแก้ปัญหาที่นิยมทำกัน คือ ทีม QC (Quality Circles)
2. ทีมบริหารตนเอง (Self - Managed Teams) หมายถึง ทีมที่สมาชิกทุกคนล้วน
รับผิดชอบต่อลักษณะทั้งหมดของการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง โดยเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร
ซึ่งสมาชิกจะปฏิบัติงานโดยทั่วไป มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบสำหรับงาน
ทีมบริหารตนเองสามารถที่จะเลือกสมาชิกผู้ร่วมทีม และสามารถให้สมาชิกมีการตรวจสอบ
ซึ่งกันและกัน
 3. ทีมที่ทำงานข้ามหน้าที่กัน (Cross - Function Teams) เป็นการประสมประสาน
ข้ามหน้าที่งาน ความสามารถในการดึงทรัพยากรบุคคลผนวกเข้าด้วยกันจากหน้าที่
ทางธุรกิจที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างสมรรถภาพในด้านความแตกต่าง โดยเป็นการใช้
กำลังแรงงาน ตั้งเป็นทีมข้ามหน้าที่ชั่วคราวซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคณะกรรมการ
(Committees) เข้ามาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน, พัฒนาความคิดใหม่ๆ ร่วมมือกันแก้ปัญหา
และทำโครงการที่ซับซ้อน ทีมข้ามหน้าที่ ต้องการเวลามากเพื่อสมาชิกจะต้องเรียนรู้งาน
ที่แตกต่าง ซับซ้อน และต้องใช้เวลาในการสร้างความไว้ใจ และสร้างการทำงานเป็นทีม
เนื่องจาก แต่ละคนมาจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน
4. ทีมเสมือนจริง (Virtual Teams) ลักษณะการทำงานจะเป็นทีม แต่สภาพการทำงาน
จะแยกกันอยู่ ดังนั้นจึงต้องการระบบในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทีมจะมุ่งเน้นความสำเร็จของงานเพื่อให้บรรลุ
เป้าหมายของงานร่วมกัน แต่จะมีการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ด้านความรู้สึกทางสังคม
ในระดับต่ำ
ข้อควรระวัง : การทำงานเป็นทีมไม่ได้เป็นคำตอบในการแก้ไขปัญหาเสมอไป เนื่องจาก
การทำงานเป็นทีมต้องใช้เวลาและทรัพยากรมากกว่าการทำงานคนเดียว
ยกตัวอย่างเช่น
• ต้องเพิ่มการติดต่อสื่อสารมากขึ้น
• ต้องบริหารความขัดแย้งระหว่างกัน
• ต้องมีการจัดการประชุม
• ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
อย่างไรก็ตามในบางกรณีผลประโยชน์ที่ได้จากการทำงานเป็นทีมก็จะได้รับผลตอบแทน
ที่คุ้มค่า ดังนั้น ผู้บริหารต้องทำการประเมินว่างานใดควรทำคนเดียว และงานประเภทใด
ที่ต้องใช้ความร่วมมือของทีม
คำถาม 3 ข้อ เพื่อดูว่าควรใช้วิธีการทำงานเป็นทีมในการทำงานหรือไม่
1. งานนั้นสามารถทำได้ดีขึ้นหรือไม่ หากใช้คนมากกว่าหนึ่งคน
2. งานนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อทุกคนในกลุ่ม หรือ เพื่อคนใดคนหนึ่ง
3. การเลือกใช้ประเภทของทีมให้เหมาะสมกับสถานการณ์
การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
1. วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเป้าหมายที่เห็นพ้องต้องกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงาน
ที่ต้องการทำให้องค์การบรรลุผลสำเร็จที่คาดหวังไว้ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามภารกิจ
ขององค์การ
- การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดี โดยให้ผู้นำและสมาชิกภายในทีม มีส่วนร่วมในการกำหนด
หน้าที่ความรับผิดชอบและวัตถุประสงค์ร่วมกัน ควรกำหนดจุดมุ่งหมายไว้ให้ชัดเจนที่ผล
งานมากกว่าการกระทำ
- ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ใช้เป็น
เครื่องมือในการรวมพลังในการทำงาน และใช้เป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จหรือความ
ล้มเหลวในงาน
- คุณลักษณะของวัตถุประสงค์ที่ดี คือ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เข้าใจได้ง่าย
สามารถปฏิบัติได้จริง ไม่ขัดต่อข้อบังคับและนโยบายอื่นๆในหน่วยงาน 
2. ความเปิดเผยต่อกันและการเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหา เป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานเป็น
ทีมที่มีประสิทธิภาพ สมาชิกในทีมจะต้องการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย
ตรงไปตรงมา แก้ปัญหาอย่างเต็มใจและจริงใจ การแสดงความเปิดเผยของสมาชิกในทีม
จะต้องปลอดภัย พูดคุยถึงปัญหาอย่างสบายใจ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกัน
เป็นอย่างดี โดยมีการเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลอื่นในด้านความต้องการ ความคาดหวัง
ความชอบหรือไม่ชอบ ความรู้ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด จุดเด่นจุดด้อยและ
อารมณ์ รวมทั้งความรู้สึก ความสนใจนิสัยใจคอ
3. การสนับสนุนและความไว้วางใจต่อกัน สมาชิกในทีมจะต้องไว้วางใจซึ่งกันและกัน
โดยทีละคนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องกลัวว่าได้รับ
ผลร้ายที่จะมีต่อเนื่องมาภายหลัง สามารถทำให้เกิดการเปิดเผยต่อกัน และกล้าที่จะเผชิญ
หน้าเพื่อแก้ปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี
4. ความร่วมมือและการให้ความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์ ผู้นำกลุ่มหรือทีมจะต้องทำ
งานอย่างหนักในอันที่จะทำให้เกิดความร่วมมือดังนี้