วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

วัดลำปาง

ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด(ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ในทางประวัติศาสตร์นครลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๕ นครลำปางว่างจากผู้ครองนคร และเกิดความวุ่นวายขึ้น สมัยนั้นพม่าเรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครองนครเชียงใหม่ ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า ท้าวมหายศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้น หนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ น่าน

[แก้] ศิลปกรรม

บันไดทางขึ้นวัด
วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นโบราณสถานสำคัญ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณซากเมืองโบราณลัมพกัปปะนคร ตามประวัติพระนางจามเทวีเคยเสด็จมานมัสการ และทำการบูรณะซ่อมแซมอยู่เสมอ นับว่าเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล มีความสวยงาม และมีความยอดเยี่ยมทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม เป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวลำปาง และชาวพุทธทั่วไป

[แก้] ประตูโขง

ประตูโขง เป็นฝีมือช่างหลวงโบราณที่สวยงามก่ออิฐถือปูนทำเป็นซุ้มยอดแหลมเป็นชั้น ๆ มีสี่ทิศ ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น รูปดอกไม้ และสัตว์ในหิมพานต์ ประตูโขงแห่งนี้ใช้เป็นสัญลักษณ์เมืองลำปางในตราจังหวัดลำปาง

[แก้] มณฑปพระเจ้าล้านทอง

วิหารหลวง เป็นวิหารประธานของวัด ตั้งอยู่บนแนวเดียวกับประตูโขง และองค์พระธาตุเจดีย์ เป็นวิหารจั่วรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงวิหารโล่งตามแบบล้านนายุคแรก หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ภายในวิหารบรรจุมณฑปพระเจ้าล้านทอง ด้านในของแนวคอสอง มีภาพเขียนสีโบราณเรื่องชาดก

[แก้] เจดีย์

องค์พระธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงล้านนา ก่ออิฐถือปูน ประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมด้วยบัวมาลัยสามชั้น เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่หุ้มด้วยแผ่นทองเหลือง ฉลุลายหรือท

พระธาตุดอยกองมู






 
108 เส้นทางออมบุญ
ออมบุญเพื่อสิริมงคลแห่งชีวิต (ภาคเหนือ)
วัดพระธาตุดอยกองมู   แม่ฮ่องสอน
โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย


วัดพระธาตุดอยกองมู   แม่ฮ่องสอน


                วัดพระธาตุดอยกองมู     เป็นวัดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งประจำเมืองแม่ฮ่องสอน วัดนี้เดิมมีชื่อเรียกว่า วัดปลายดอย  และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระธาตุดอยกองมู     ตามชื่อของดอยกองมู   อันเป็นภาษาไทยใหญ่ที่มีความหมายถึงพระเจดีย์   โดยวัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุ   อันเป็นศูนย์รวมจิตใจ และที่เคารพสักการะอย่างสูงของชาวเมือง และผู้ที่เดินทางมายังดินแดนสามหมอกแห่งนี้

                ตามประวัตินั้นกล่าว่า  วัดพระธาตุดอยกองมู   ได้สร้างขึ้นในปีพ.ศ.2403   โดยนายจองต่องสู่ และภรรยาชื่อนางเหล็ก    ซึ่งได้จัดสร้างกุฏิ และพระเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้น เพื่อบรรจุพระธาตุของพระมหาโมคคัลลานะเถระ  ที่พระอูปั่นเต็กต๊ะชาวเมืองตองกี่ได้นำมาจากเมืองมะละแหม่งประเทศพม่า   โดยพระอู่ปั่นเต๊กต๊ะยังดำรงเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดดอยกองมู   นี้เรื่อยมาจนกระทั่งนายจองต่องสู่ได้สิ้นชีวิตลง  พระอู่ปั่นเต๊กต๊ะจึงกลับคืนไปจำพรรษาที่เมืองตองกี่ดังเดิม

                ต่อมาในปี  พ.ศ.2417  เพื่อพญาสิงปนาทราชาได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรกนั้น   จึงให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นอีกองค์หนึ่งซึ่งมีชนาดย่อมกว่าองค์ที่มีอยู่เดิม  เพื่อเป็นอนุสรณ์ และได้ให้บรรจุพระธาตุของพระสารีบุตรเถระที่พระอูเอ่งต๊ะก๊ะ  นำมาจากเมืองมัณฑเลย์ประเทศพม่า   พร้อมทั้งนิมนต์พระอู่เอ่งต๊ะก๊ะเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยกองมู   รูปต่อไป

                วัดพระธาตุดอยกองมู   ถือได้ว่าเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นด้วยศิลปกรรมแบบไทยใหญ่และพม่า  วัดแห่งนี้ได้รับการทำนุบำรุงเรื่อยมา  และเป็นเสมือนศูนย์กลางแห่งศรัทธา ของชาวเมืองแม่ฮ่องสอนจวบจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งผู้ที่มาไหว้พระธาตุดอยกองมูนี้ จะสามารถมองเห็นความงามของตัวเมืองแม่ฮ่องสอนได้อย่างชัดเจน

สถานที่ตั้ง

                บนยอดดอยกองมูทางทิศตะวันตกของตัวเมืองแม่ฮ่องสอน

ความเชื่อและวิธีการบูชา

                การไหว้พระธาตุดอยกองมู     สามารถใช้เครื่องสักการะที่ทางวัดจัดให้ด้วยความหมายอันเป็นมงคล  โดยทำบุญเข้าวัดตามศรัทธา  จากนั้นให้เดินเวียนขวารอบพระธาตุ 3  รอบ เสร็จแล้วนำพานดอกไม้ธูปเทียนบูชาไปวางไว้ ไหว้พระประจำวันเกิดซึ่งประดิษฐานอยู่รอบพระเจดีย์  โดยเชื่อกันว่าจะช่วยให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตที่รุ่งเรืองในภายหน้า

เทศกาล งานประเพณี

                ในช่วงงานลอยกระทงจะมีงานนมัสการพระธาตุดอยกองมู    จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี  โดยมีการลอยกระทงสวรรค์ที่สวยงามเพื่อเป็นพุทธบูชา  และในช่วงวันออกพรรษาจะมีการตัดบาตรดาวดึงส์หรือตักบาตรเทโวด้วย